บทความสร้างจินตนาการ

ความคิดสร้างสรรค์ลูกน้อย

พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ลูกน้อยตามวัย

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า การจะให้ลูกน้อยมีความคิดสร้างสรรค์และกลายเป็นเด็กน้อยที่เฉลียวฉลาดสมวัยนั้น เคล็ดลับอยู่ที่การเริ่มต้นฝึกฝนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดนั่นเอง

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของลูกน้อยตามวันนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามได้ดังนี้

เมื่อลูกน้อยมีอายุตั้งแต่แรกเกิด 1 ขวบปีแรก

ในช่วงนี้ลูกน้อยของคุณจะเริ่มมีพัฒนาการด้านจินตนาการ เริ่มที่จะเลียนแบบเสียงที่เขาได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่และทำเสียงแปลกๆนลำคอ เริ่มที่จะหยิบจับวัตถุที่มีเสียงและให้ความสนใจอย่างกระตือรือร้นกับวัตถุชิ้นนั้น

เพราะฉะนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าในช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มที่จะให้เความสนใจในเรื่องของเสียงและเริ่มที่จะพูดคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะออกเสียงช้าๆ และซ้ำๆ ในลำคอสั้นๆ เพื่อที่จะให้ลูกน้อยได้เลียนเสียงได้ อีกทั้งช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกน้อยชอบหยิบจับสิ่งของที่มีเสียงต่างๆ มากแขวนไว้ที่เปลนอนของลูก หรือในตำแหน่งที่ลูกน้อยสามารถมองเห็นและเอี้อมหยิบจับได้ (เด่วมาต่อ 2-6ขวบนะ)

กลับมาต่อจากครั้งที่แล้วที่ค้างไว้นะครับ

เมื่อลูกน้อยมีอายุ 1-2 ปี

ตอนนี้ลูกน้อยของคุณเริ่มที่จะสนใจในการสำรวจมากขึ้น และเริ่มที่จะอยากรู้ว่าวัตถุสิ่งของเหล่านั้นที่เขาพบเห็นมันคืออะไร ดังนั้นในช่วงนี้จึงเป็นวัยที่ลูกของคุณจะชอบซักถาม และชอบสำรวจสิ่งต่างๆ ที่แปลกตา คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะหาวัตถุหรือของเล่นเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายมาให้ลูก แต่ต้องเป็นวัตถุที่มีความปลอดภัยต่อลุกของคุณด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะหาพื้นที่ให้ลูกของคุณได้ทำการสำรวจโดยการนำลูกออกไปไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยดอกไม้และต้นไม้ หรือทะเล น้ำตก เป็นต้น เพราะฉนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยและออกไปสำรวจโลกกว้างแล้วคุณควรที่จะพูดคุยกับลูกน้อยและบอกเขาให้รู้ว่าสิ่งที่ลูกกำลังแสดงออกเมื่อพบเจอสิ่งตื่นตาตื่นใจนั้นเรียกว่าอะไร และกิริยาอาการที่เขาแสดงอยู่เรียกว่าอะไร เช่น ชอบมั้ยคะ / ครับ สวยมั้ยคะ / ครับ สนุกมั้ยคะ / ครับ ดีมั้ย เป็นต้น การพูดถ้อยคำที่ซับซ้อนขึ้นกับลูกแบบนี้จะทำให้เขามีพัฒนาการทางด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น (เด่วมาต่อ 3-6ขวบนะ)

เมื่อลูกน้อยมีอายุ 2-3 ปี มาถึงช่วงนี้ลูกของคุณกำลังน่ารักเชียวและกำลังอยู่ในวัยที่เรื่มซนและเริ่มทำให้คุณปวดหัวแล้วละ เพราะลูกในช่วงวัยนี้จะชอบแสดงออกโดยตรงจากสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา ไม่ว่าจะเป็นท่าทางที่แสดงออกมาด้วยความตื่นเต้น เสียใจ ร้องไห้ ยิ่มดีใจ หัวเราะสนุกสนาน และเริ่มที่จะกลัว ขี้อาย ไม่กล้า เมื่อเจอกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้นเมื่อต้องเจอกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะอธิบายให้ลูกได้รับรู้ ว่าสิ่งที่ลูกพบเห็นนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่น่ากลัวหรือเป็นสิ่งที่ไม่ควรเข้าไปอยู่ใกล้ เพราะเหตุใดให้อธิบายไป เช่น เพราะอาจจะทำให้ลูกเจ็บเพราะอาจจะทำให้ลูกร้องไห้ เป็นต้น
การอธิบายถึงประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ลูกได้พบเจอได้รับรู้นั้นจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นใจในตัวเองและรู้สึกปลอดภัยจากประสบการณ์ใหม่ๆ นั้นมากขึ้น ซึ่งปรสบการณ์ใหม่ๆ นั้นอาจจะเป็นการได้พบปะกับผู้คนแปลกหน้ามากขึ้นที่ไม่ได้มีแค่ต่พ่อกับแม่พี่น้อยปู่ย่าตายายเท่านั้น ลูกจะได้พบปะกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ซึ่งประสบการณ์ใหม่ๆ นี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเมื่อลูกน้อยจะต้องพบเจอกับผู้คนอื่นๆอีกมากมาย และในช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะสนับสนุนในการแสดงออกเกี่ยวกับการเล่นของลูกด้วย และของเล่นที่เหมาะสมกับวัยลูกในช่วงนี้ก็คือ ของเล่นจำพวกที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว เช่น ดินน้ำมัน ตัวต่อรูปต่างๆ เป็นต้น

เมื่อลูกน้อยมีอายุ 3-4 ปี ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะปล่อยให้บลูกมีเวลาเป็นของตัวเอง ให้เขาได้เล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันและให้เขาได้คิดขึ้นมาเอง และเล่นเองตามลำพัง เพราช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวมากยิ่งขึ้นอีกทั้งการให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง จะเป็นการพัฒนาจินตนาการของเขาได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเขาสามารถที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เขาก็จะมีความมั่่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะให้ลูกอยู่ตามลำพังคนเดียวมากจนเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะให้ลูกน้อยได้เจอเพื่อนใหม่ๆและได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ให้ลูกได้เล่นสนุกนสนานเกับเพื่อนๆ เป็นหมู่คณะและไม่ควรที่จะปิดกั้นให้ลูกน้อยเล่นอยู่กับเพื่อนวัยเดียวกัน ควรที่จะให้เขาได้เล่นกับเพื่อนต่างวัยด้วยเพื่อที่ลูกจะได้เกินการเรียนรู้วัฒนธรรม และพฤติกรรมของเด็กต่างวัยที่มีความแตกต่างกับเขา เป็นการช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้กับเขามากขึ้น

เมื่อลูกน้อยมีอายุ 4-5 ปี เมื่อลูกเข้าสู่วัยนี้ คุณพ่อคุณแม่จะพบว่าลูกเริ่มที่จะมีจินตนาการสูงขึ้น เพราเขาจะเริ่มมีการวางแผนในการเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ และเริ่มคาดคะแนผลสรุปของการเล่นหรือกิจกรรมนั้นล่วงหน้าว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ลูกของคุณในวัยนี้จะเริ่มเป็นจอมวางแผนโดยการวางรูปแบบการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนตัวเอง เช่น พรุ่งนี้เรามาเล่นวิ่งไล่จับกันอีกนะ หรือพรุ่งนี้เรามาเล่นพ่อกับแม่กันอีกนะ เป็นต้น
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่เขาพบเห็น ไม่ว่าจะเป้นพฤติกรรมจากพ่อแม่หรือคนรอบข้างที่เขาพบเจอและใกล้ชิดสนิทสนม เขาจะเริ่มเรียนรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ของคนรอบข้างมากขึ้นรู้ว่าคนนี้โกรธเขา รู้ว่าคนนี้ชื่นชมเขา รู้ว่าคนนี้ใจดี เป็นต้น เพราะในช่วงวัยนี้สิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้ดีทีสุดก็คือ ของเล่นที่เลียนแบบของจริงในละครหรือในนิทาน เช่น ของเล่นเครื่องครัวจิ๋ว ตุ๊กตาผู้หญิงผู้ชายพร้อมชุุดเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ของเล่นชุดคุณหมอ เป็นต้น โดยที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยถามคอยอธิบายให้ลูกได้รับรู้ข้อมูลอย่างถูกต้องจากของเล่นของเขา

เมื่อลูกน้อยมีอายุ 6 ปี ลูกน้อยในวัย 6 ขวบนี้ เขาจะอยู่ในช่วงวัยที่ต้องการข้อเท็จจริงจากสิ่งที่เขาสงสัยหรือพบเห็นมา เริ่มอยากจะอยู่กับเพื่อนเล่นสนุกกับเพื่อนๆ มากขึ้นไม่อยากอยุ่คนเดียว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะให้ลูกน้อยได้อยู่กับเพื่อนๆ ของเขา และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และปลอดภัยในการเล่นกับเพื่อนๆ
คุณพ่อคุณแม่ไไม่ควรห้ามลูกอย่าทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้ระกว่างการเล่นกับเพื่อนๆ เพราะจำทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกเล่นได้อย่างอิสระ แต่ก็ใช่ว่าจะปล่อยเลยตามเลย ควรดูแลลูกน้อยอย่งใกล้ชิดและคอยช่วยเหลือยามเมื่อเขาต้องการด้วย เช่น ขณะที่เขากำลังเล่นสนุกอยู่กับเพื่อนๆ แล้วเกิดสงสัยอะไรบางอย่าง เขาจะสามารถวิ่งมาถามคาถามเพื่อหาคำตอบจากคุณพ่อคุณแม่ได้ หรือระหว่างการเล่นซนคุณก็สามารถที่จะเข้าไปบอกลูกได้ว่า สิ่งที่เขาเล่นอยู่นั้นมันเหมาะสมและเปลอดภัยหรือไม่ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้และจดจำประสบการณ์เหล่านั้นไว้ ซึ่งจะเป็นการช่วยในการพัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของลูกต่อไป

คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยลูกน้อยเล่นอย่างอิสระ แต่ก็ใช่ว่าจะปล่อยเลยตามเลย วรดูแลลูกน้อยอย่งใกล้ชิดและคอยช่วยเหลือยามเมื่อเขาต้องการด้วย



สมุนไพรไล่มดแมลง